หน้าเป็นฝ้ารักษาอย่างไรดี? นารดาคลินิกให้บริการรักษาฝ้าทุกชนิดแบบบูรณาการ

หน้าเป็นฝ้ารักษาอย่างไรดี? นารดาคลินิกให้บริการรักษาฝ้าทุกชนิดแบบบูรณาการ

21 ก.ค. 2565   ผู้เข้าชม 126

  “ส่องกระจกทีไรปวดใจทุกที”  เพราะฝ้ากระจุดด่างดำกระจายอยู่เต็มหน้า โบ๊ะแป้งก็แล้ว  รองพื้นก็แล้ว แต่ปิดยังไงก็ไม่มิด  ยังโผล่มาให้เห็นไม่จบไม่สิ้น  จนเรียกได้ว่า “ฝ้า” เป็นศัตรูตัวฉกาจที่ทำลายความมั่นใจให้กับหนุ่มๆสาวๆมาทุกยุคสมัย  ปัจจุบันได้มีการคิดค้นวิธีการรักษาฝ้าในรูปแบบต่างๆ เพื่อที่คุณจะเผยผิวกระจ่างใสได้อีกครั้ง

ฝ้าคืออะไร?

ฝ้าเกิดจากการที่เซลล์เม็ดสีชั้นใต้ผิวหรือที่เรียกว่าเมลานิน(Melanin pigment) ทำงานผิดปกติ เนื่องจากเมลานินทำหน้าที่ในการกรองรังสีUV (รังสีอัลตร้าไวโอเลต) ยิ่งผิวได้รับแสงแดดมากขึ้น เมลานินก็จะถูกผลิตออกมามากขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นที่มาของฝ้าที่มีลักษณะเป็นสีดำอมน้ำตาล ขึ้นเป็นปื้นบนใบหน้า ทำให้สีผิวดูไม่สม่ำเสมอกัน ส่วนใหญ่มักขึ้นที่บริเวณโหนกแก้ม  หน้าผาก หรือบริเวณคาง  มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงอายุ 20-50 ปี

ฝ้ามาจากไหน?

 

ฝ้ามาจากไหน

ฝ้า เกิดจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ดังต่อไปนี้

  1. รังสียูวี(UV)จากแสงแดด ทั้งยูวี เอ(UV A) และ ยูวี บี(UV B) โดยเฉพาะในช่วงที่แดดแรง 10.00 -14.00 น. จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (เมลานีน) สร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผิวของเราเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำต่างๆได้  ดังนั้นหากเป็นไปได้จึงควรหลีกเลี่ยงแสงแดดในเวลานั้น พร้อมทั้งทาครีมกันแดดเพื่อปกป้องผิวเป็นประจำในแต่ละวัน
  2. แสงประเภท visible light ไม่ว่าจะเป็นแสงไฟ ความร้อนที่เกิดจากการทำอาหาร หรือแม้แต่รังสีจากจอคอมพิวเตอร์ ก็ล้วนแต่เป็นภัยต่อผิวหน้าเราได้ทั้งสิ้น
  3. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนใหญ่เกิดกับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ วัยที่กำลังจะหมดประจำเดือน หรือผู้หญิงที่ได้รับฮอร์โมนทดแทน(HRT)
  4. ยาคุมกำเนิด เนื่องจากยาคุมกำเนิดมีส่วนผสมของฮอร์โมนเพศประเภทเอสโตรเจน(Estrogen) ซึ่งจะกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีหรือเมลานีนทำงานหนักขึ้น ดังนั้นผู้ที่ทานยาคุมติดต่อกันประมาณ 6 เดือนขึ้นไป จึงมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาเรื่องฝ้าได้ง่าย
  5. การใช้ยาบางชนิด เช่นยากันชัก ประเภท Diphenylhydantoin หรือ Mesantoin  รวมถึงผู้ป่วยโรคไทรอยด์ก็มักจะมีฝ้าเกิดขึ้นได้เช่นกัน
  6. การใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ จำพวกครีมหน้าขาว ครีมเถื่อนไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา มักมีส่วนผสมของสารไฮโดรคิวโนน  สารปรอท  หรือสารสเตียรอยด์ที่เป็นอันตรายต่อผิวหน้าของคุณ ไม่เพียงเกิดการระคายเคือง แพ้ง่าย และผิวบางลงเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดฝ้าฝังลึกด้วย
  7. ความเครียดสะสม ปฏิเสธไม่ได้ค่ะว่าความเครียดทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน แถมยังทำให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระขึ้นมาได้อีกด้วย ซึ่งทั้งฮอร์โมนและอนุมูลอิสระล้วนแต่มีส่วนกระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิวให้ทำงานผิดปกติได้ด้วย
  8. พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อยติดต่อกันหลายวันส่งผลให้ระบบฮอร์โมนขาดความสมดุลในการทำงาน ทั้งยังมีส่วนทำให้การทำงานของต่อมเหงื่อลดลง ซึ่งทำให้การขับของเสียทางผิวหนังลดลงด้วย ในขณะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น ของเสียก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น และยังทำให้ผิวพรรณไม่สดใส มีฝ้า กระ ตามมาได้
  9. ดื่มน้ำน้อย เพราะน้ำจะช่วยปรับสมดุล ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอการเกิดฝ้าได้ด้วยค่ะ
  10. พันธุกรรม ในบางกรณีที่ในเครือญาติมีปัญหาเรื่องฝ้า ก็มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาในเรื่องนี้ด้วย

 

ฝ้ามีกี่ชนิด?

ฝ้า แบ่งออกเป็น 4 ชนิดตามลักษณะที่ปรากฏบนใบหน้า ดังต่อไปนี้

  1. ฝ้าตื้น เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณผิวชั้นนอก(หนังกำพร้า)  เป็นผื่นสีน้ำตาลเข้ม มีขอบชัด เกิดขึ้นได้ง่ายๆ
  2. ฝ้าฝังลึก เกิดในบริเวณชั้นหนังแท้ เป็นผื่นสีน้ำตาลผสมสีเทาเข้ม ขอบไม่ชัด เพราะอยู่ในระดับที่ลึกมาก ฝ้าประเภทนี้รักษาค่อนข้างยาก
  3. ฝ้าผสม เป็นประเภทของฝ้าที่พบมากที่สุด คือมีทั้งฝ้าลึกและฝ้าระดับลึก
  4. ฝ้าที่ระบุชนิดไม่ได้ มักพบในผู้ที่มีสีผิวเข้มมากๆ เช่นชาวแอฟริกา เป็นต้น

นอกจากนั้น เรายังสามารถแบ่งชนิดของฝ้าตามที่มาหรือสาเหตุการเกิดได้ 2 ประเภทคือ

  1. ฝ้าแดด ส่วนใหญ่เกิดจากรังสียูวีจากแสงแดด แสงจากจอคอมพิวเตอร์ มือถือ เป็นต้น
  2. ฝ้าเลือด ฝ้าชนิดนี้เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ผิวจะไวต่อแสง แดงง่ายเมื่อถูกความร้อนหรือแสงแดด

 

ความแตกต่างของ”ฝ้า” กับ “กระ”

 

ฝ้ากระ

ความแตกต่างของฝ้ากับกระ คือ ฝ้าจะมีลักษณะเป็นปื้น มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีสีน้ำตาลเข้มกว่าสีผิวของเรา ฝ้าตื้นจะอยู่บริเวณชั้นบนของผิว  ฝ้าลึกจะอยู่ในชั้นที่ลึกลงไป ส่วนกระจะเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาลอ่อน กระจายอยู่ทั่วผิวหน้า กระทั่วไปจะเกิดที่ผิวชั้นบน แต่ถ้าเป็นกระเนื้อ จะมีลักษณะนูนและสีเข้มขึ้น เนื่องจากมีการแบ่งเซลล์ของผิวหนังที่ผิดปกติ มักเกิดเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น

 

วิธีการรักษาฝ้า กระ ในปัจจุบัน

ความแตกต่างของฝ้ากับกระ คือ ฝ้าจะมีลักษณะเป็นปื้น มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ มีสีน้ำตาลเข้มกว่าสีผิวของเรา ฝ้าตื้นจะอยู่บริเวณชั้นบนของผิว  ฝ้าลึกจะอยู่ในชั้นที่ลึกลงไป ส่วนกระจะเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาลอ่อน กระจายอยู่ทั่วผิวหน้า กระทั่วไปจะเกิดที่ผิวชั้นบน แต่ถ้าเป็นกระเนื้อ จะมีลักษณะนูนและสีเข้มขึ้น เนื่องจากมีการแบ่งเซลล์ของผิวหนังที่ผิดปกติ มักเกิดเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น

 

วิธีการรักษาฝ้า กระ ในปัจจุบัน

 

ปัจจุบันได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อรักษาฝ้ามากมายหลายวิธี โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา  และให้ผลข้างเคียงที่น้อยที่สุดแต่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของฝ้า กระ ด้วย  วิธีรักษาที่ได้รับความนิยมมีดังต่อไปนี้

  1. การรักษาด้วยยาในรูปแบบของครีม เพื่อช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น ประเภทกรดวิตามินเอหรือเรตินอยด์(Topical Retinoids/Retinoic Acid) ไฮโดรควิโนน(Hydroxyquinone) กรดอะซีลาอิก(Azelaic Acid) กรดโคจิกKojic Acid) คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) หรือกรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) ซึ่งตัวยาแต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นแตกต่างกัน  ซึ่งอาจจะเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวได้ ดังนั้น ก่อนใช้ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน
  2. การรักษาด้วยเลเซอร์ วิธีนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากช่วยปรับสภาพและรักษาความผิดปกติของสีผิว  โดยยิงเลเซอร์ในบริเวณที่เกิดฝ้าโดยตรง อาทิเช่น คิวสวิทซ์ เลเซอร์ (Q-Switched Laser) เป็นการลดเลือนรอยฝ้า กระ และจุดด่างดำด้วยการใช้คลื่นแสง เมื่อทำแล้วจะส่งผลให้ลดการสร้างเม็ดสีและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิว ทำให้ผิวที่สร้างใหม่นั้นจะดูกระจ่างใส อ่อนวัย มีความนุ่มและเรียบเนียน และไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง แต่เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนจะต้องทำประมาณ 5 – 10 ครั้งขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความตื้นลึกของเม็ดสีของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน
  3. การทำทรีทเม้นท์ โดยการผลักวิตามินลงสู่ผิวหนังชั้นลึก  วิธีนี้จะช่วยให้วิตามินซึมเข้าสู่ผิวได้ดี พร้อมทั้งยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต โดยวิตามินที่นิยมใช้คือวิตามินเอ ซึ่งช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเซลล์ผิวหนัง วิตามินซี ช่วยเรื่องฝ้ากระจุดด่างดำ ทำให้ผิวมีชีวิตชีวา รวมถึงคอลลาเจน ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูโครงสร้างของผิว เป็นต้น
  4. การทำ Meso คือ การใช้เข็มเป็นตัวผลักสารที่เป็นประโยชน์จำพวกวิตามินซี เข้าไปในชั้นผิวของเราที่เรียกว่า “ผิวชั้นเมโส” โดยเข็มจะไปกระตุ้นการทำงานของชั้นผิวและฟื้นฟูผิวของเราในชั้นเมโส ทำให้ผิวหน้าของเราขาวใส ลดริ้วรอย ฝ้า กระ และจุดด่างดำได้ เช่น Meso  pigment, Meso Vampire   

 

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดฝ้า

ทาครีมกันแดดป้องกันฝ้า

มีคนกล่าวว่า “ฝ้าเป็นแล้วรักษายาก”  แต่เราสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. เลี่ยงแดดจัด โดยเฉพาะในช่วง 11.00-14.00 น. เพราะเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าร้อนที่สุด รังสีอัลตร้าไวโอเลตสามารถกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้นได้
  2. ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน เพราะไม่ใช่แค่แสงแดดเท่านั้นที่ทำร้ายผิวสวยๆของเรา แต่รวมถึงแสงจากไฟนีออน แสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ หรือจากจอโทรศัพท์มือถือ ก็เป็นหนึ่งในหลายๆตัวการที่ทำให้เกิดฝ้าได้  ดังนั้นการทาครีมกันแดดก็จะเป็นเหมือนเกราะปกป้องผิวอีกชั้น  ซึ่งควรเลือกครีมกันแดดที่มี SPF 50 ขึ้นไป  ทาอย่างน้อย 30 นาทีก่อนออกจากบ้าน และควรทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง  และถ้าเป็นไปได้ควรสวมหมวกหรือกางร่มก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง
  3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่นยากันชักกลุ่มฟีไนโทอีน ยาที่มีปฏิกิริยาไวต่อแสง หรือการทานยาปรับฮอร์โมนที่มากเกินไป  เนื่องจากมีผลข้างเคียงทำให้เกิดฝ้าได้
  4. หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่มีสารเคมีรุนแรง กัดผิวบนใบหน้า ทำให้เกิดอาการแพ้จนเป็นรอยดำ ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดฝ้าถาวรได้ 
  5. บำรุงผิวหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามิน เพราะวิตามินบางชนิด เช่นวิตามินบี3 ช่วยลดการสร้างเซลล์เม็ดสีหรือเมลานิน  ทำให้จุดด่างดำและทำให้ฝ้าจางลงได้
  6. เลือกทานผักและผลไม้ที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี และสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เช่น มะเขือเทศ ผักใบเขียว จำพวกผักโขม คะน้า บล็อกโคลี่ พืชตระกูลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ ที่สามารถลดความเสื่อมของผิวได้  รวมถึงพืชตระกูลส้ม  แอ๊ปเปิ้ล มะขามป้อม น้ำมันปลา แตงกวาหรือแม้แต่พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
  7. ดื่มน้ำมากๆ วันละ 8-10 แก้ว จะช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ทำให้ผิวพรรณสดใส

 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรักษาฝ้า

ทาครีมปกป้องฝ้า

  1. อย่าซื้อยารักษาฝ้ามาทานเอง เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวด้วย และควรอยู่ในการควบคุมของแพทย์ทุกครั้ง
  2. ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินอาการและระดับความรุนแรงของฝ้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน
  3. หยุดรับประทานยาหรือใช้เครื่องสำอางที่กระตุ้นให้เกิดฝ้า
  4. เลี่ยงการขัดหน้าบ่อยๆ เพราะอาจกระตุ้นให้ฝ้ามีความเข้มขึ้นได้
  5. ในกรณีที่รักษาฝ้าด้วยเลเซอร์ ควรรักษากับแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น เนื่องจากความร้อนของแสงเลเซอร์จะทำลายเม็ดสีที่อยู่ในชั้นผิวหนังอาจทำให้ผิวบริเวณนั้นบางลง หรือไหม้และอาจทำให้เกิดฝ้ามากขึ้นได้

 

“ฝ้า” เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เม็ดสีที่ได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆสะสมมายาวนาน แม้ฝ้าจะไม่ใช่โรคร้ายแต่ก็ได้สร้างความกังวลใจให้กับผู้คนมานักต่อนักกับจุดด่างดำเป็นเปื้อนบนผิวหน้า ดังนั้น สิ่งสำคัญควบคู่กับการรักษาก็คือการดูแลตัวเองทั้งภายนอกและภายใน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฝ้าเพิ่มมากขึ้นนั่นเองค่ะ


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

เลเซอร์กำจัดขน...บอกลาขนแบบถาวร ปลอดภัย ที่ นารดาคลินิก
21 ก.ค. 2565

เลเซอร์กำจัดขน...บอกลาขนแบบถาวร ปลอดภัย ที่ นารดาคลินิก

สาระน่ารู้